News Property

ถ้าอยากกู้แบงค์ ก็ต้องคิดแบบแบงค์ (จริงหรือ???)

การมีบ้านสักหลัง สำหรับบางคน….อาจคือเงินที่เก็บออมมาตลอดทั้งชีวิตในวัยทำงาน  หรือบางคนก็แค่ไม่กี่ปีในอายุการทำงาน ก็สามารถซื้อบ้านได้ด้วยเงินของตนเองล้วนๆ อาจจะมีขนาดเล็ก ใหญ่ แตกต่างกันไปตามความสามารถในการประกอบอาชีพ

แต่สำหรับอีกหลายๆ คน หรือคนส่วนใหญ่ แทบจะค่อนประเทศไทยเลยก็ว่าได้ เงินซื้อบ้านประมาณครึ่งหนึ่ง หรือมากกว่าครึ่ง มาจากการกู้แบงค์หรือแหล่งเงินกู้อื่นๆ ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละแห่ง ดอกเบี้ยจะถูกจะแพง จะมีโปรดีๆ มาล่อตาล่อใจผู้กู้ได้มากน้อยขนาดไหน ทั้งในเรื่องอัตราดอกเบี้ย (ต่ำ) หรือระยะเวลาที่ให้กู้ให้ผ่อนกันยาวๆๆๆๆๆ จนถึงรุ่นลูกรุ่นหลานกันเลยทีเดียว ก็คงขึ้นอยู่กับการตลาดของสถาบันทางการเงินเหล่านั้น

สำหรับผู้ต้องการซื้อบ้าน และจำเป็นต้องยื่นกู้เงินจากธนาคารหรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “แบงค์” แล้วล่ะก็ มีปัจจัยหรือองค์ประกอบหลักใดบ้างที่แบงค์ให้ความสนใจ

 

อายุของผู้กู้

  • ตามกฎหมาย ผู้กู้ต้องบรรลุนิติภาวะ คือ มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์

อาชีพ หรือขีดความสามารถในการผ่อนชำระเงินกู้คืนให้แก่แบงค์

  • ผู้กู้ ควรมีอาชีพที่ก่อให้เกิดรายได้ที่มั่นคง และเพียงพอในการที่จะสามารถผ่อนชำระเงินกู้ในระยะเวลาติดต่อกันนานๆ

เช่น 10 15 20 หรือ 25 ปี ขึ้นอยู่กับอายุของผู้กู้ในขณะยื่นกู้ และควรมีอายุการทำงานอย่างน้อย 1-2 ปี เพื่อเป็นการ

รับประกันว่าคุณมีความมั่นคงในอาชีพเพียงพอ ไม่ใช่น้องใหม่หน้าใส ที่เพิ่งเข้าทำงานและยังไม่ผ่านการทดลองงาน

เสียด้วยซ้ำ

 

สินทรัพย์อื่นๆ ที่สามารถนำมาค้ำประกันวงเงินกู้ได้

  • หากผู้กู้มีอาชีพที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่แน่นอนและมั่นคง การใช้ทรัพย์สินอื่นๆ เช่น ที่ดิน เป็นตัวค้ำประกันวงเงินกู้ ก็

สามารถทำได้ หากแบงค์ประเมินมูลค่าของที่ดินผืนนั้นแล้ว ว่ามีมูลค่ามากพอที่จะปล่อยเงินกู้ให้แก่เจ้าของที่ดินผืนนั้น

ได้ และหากผู้กู้ไม่สามารถผ่อนชำระเงินกู้ได้ตามที่ระบุในสัญญา แบงค์ก็สามารถยึดสินทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันแทนวงเงิน

กู้นั้นแทนได้

ผู้กู้ร่วม

  • หากพูดอธิบายกันแบบง่ายๆ “ผู้กู้ร่วม” ก็คือ ผู้ร่วมรับผิดชอบในการผ่อนชำระเงินกู้นั่นเอง ในกรณีที่แบงค์พิจารณา

รายได้ของผู้กู้หลักแล้วประเมินว่าไม่มีขีดความสามารถที่จะชำระวงเงินกู้นั้นๆ ได้เพียงลำพังผู้เดียว แบงค์ก็อาจอนุมัติ

วงเงินกู้ให้แก่คุณได้ โดยมีเงื่อนไขว่าต้องมีผู้กู้ร่วมมาช่วยกันผ่อนชำระเงินกู้นั่นอีก 1 หรือมากกว่า 1 คน แล้วแต่วงเงินกู้

และรายได้ของตัวผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมทั้งหมด และในกรณีที่ผู้กู้หลักเกิดบาดเจ็บ ล้มตาย สูญหาย จนไม่สามารถผ่อน

ชำระเงินกู้นั้นได้ ภาระทั้งหมดก็จะตกเป็นของผู้กู้ร่วมต้องรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว

ประวัติทางการเงิน หรือเครดิตบูโรของผู้กู้และผู้กู้ร่วม

  • ในยุคที่ไอทีเฟื่องฟูแบบไร้พรมแดน ที่ข้อมูลใดๆ ก็สามารถหาได้ง่ายดายเพียงปลายนิ้วสัมผัสหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือ

การเชื่อมโยงข้อมูลกับ Server ขององค์กรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้เงื่อนไขและขอบเขตที่กฎหมายกำหนด/อนุญาต การ

ตรวจสอบเครดิตบูโร หรือเรียกง่ายๆ ว่า ตรวจสอบประวัติทั้งดีและไม่ดีของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วม ว่าเคยไปสร้างหนี้สินและ

ไม่สามารถผ่อนชำระให้แก่ผู้อนุมัติวงเงินที่ไหนไว้บ้างหรือไม่นั่นเอง เช่น หนี้บัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด เป็นต้น

การเช็คเครดิตบูโร ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่แบงค์ต้องตรวจสอบก่อนทำการอนุมัติวงเงินกู้ เพื่อป้องกันภาวะหนี้สูญนั่นเอง

 

สิ่งที่กล่าวมาเบื้องต้น อาจเป็นเพียงองค์ประกอบหลักๆ โดยทั่วไปที่แบงค์ใช้ในการพิจารณาอนุมัติวงเงินให้แก่ผู้ยื่นกู้ซื้อบ้านหรืออสังหาริมทรัพย์อื่นๆ อย่างไรก็ตาม อาจมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจนำมาพิจารณาร่วมด้วย เช่น สุขภาพของผู้กู้ ว่ามีโรคประจำตัวร้ายแรงใดบ้างหรือไม่ เป็นต้น

เป็นอย่างไรบ้างคะ…อ่านแล้ว พอจะเห็นลู่ทางหรือช่องทางดีๆ ในการเตรียมตัวกู้เงินจากแบงค์กันบ้างหรือไม่ แต่หากอ่านแล้ว ยังไม่ค่อยเข้าใจชัดเจน หรือคุณอาจมีสภาพคล่องทางการเงินที่นอกเหนือจากสูตรสำเร็จทั่วไป และต้องการมีบ้านเป็นของตัวเองสักหลัก แต่ยังไม่มั่นใจว่าจะกู้ซื้อบ้านได้หรือไม่

ลองแวะมาคุยกับเราสิคะ…ไม่แน่ว่า…..คุณอาจจะมองเห็นช่องทางดีๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถยื่นกู้แบงค์ได้แบบฉลุยก็เป็นได้

เพราะเรา…คือเพื่อนและมืออาชีพที่รู้เฟื่องทุกเรื่องเกี่ยวกับบ้านและช่วยคุณสานฝันให้เป็นจริงได้เสมอ

โดย: ขายบ้านศรีราชา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *