News Property

เมื่อฝนมา….จะรับมืออย่างไรดี

หลังจากที่ผ่านพ้นวิกฤตหน้าร้อนที่ปรอทพุ่งปรี้ดจนแทบแตกเป็นเสี่ยงๆ กันมาแล้ว ก็ถึงเวลาที่จะได้ชุ่มฉ่ำกับสายฝนกันบ้างแล้ว หลายๆ ท่านคงรู้สึกว่าถึงแม้ฝนจะทำให้รถติด น้ำท่วมขัง แต่อย่างน้อยก็ช่วยให้ผ่อนคลายอุณหภูมิความร้อนแรงลงไปบ้างเหมือนกันใช่มั้ยคะ

สำหรับคุณๆ เจ้าของบ้านทั้งหลาย…ไม่ทราบว่าได้เตรียมรับมือกับสิ่งที่จะตามมาในหน้าฝนกันบ้างแล้วรึยัง เพราะไม่ว่าจะเป็นบ้านเก่าหรือใหม่ ล้วนมีปัญหาคลาสสิคแบบบ้านๆ ให้คุณต้องหงุดหงิดรำคาญใจกันบ้างไม่มากก็น้อย หากคุณยังไม่รู้จะเริ่มต้นที่ตรงไหนดี วันนี้เรามีข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีรับมือกับหน้าฝนด้วยการตรวจเช็คสภาพบ้านมาเล่าสู่กันฟัง โดยมีจุดหลักๆ ที่มักเจอปัญหาบ่อยๆ ได้แก่

หลังคา/ฝ้าเพดาน

ตัวบ้าน

หากบ้านคุณมีอายุการใช้งานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป (หรือแม้แต่บ้านใหม่ป้ายแดงก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน) ควรมีการตรวจเช็คคราบน้ำฝนหรือรวยรั่วซึมจากหลังคาหรือฝ้าเพดาน เพราะบางครั้งฝนตกในช่วงที่คุณไม่อยู่บ้าน หากรั่วซึมเพียงเล็กน้อย คุณจะไม่สามารถสังเกตเห็นได้จนกว่ารอยรั่วจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนบ้านบางหลังฝนตกทะลุฝ้าเพดานหรือฝ้าพังลงมาเลยก็มี

ส่วนต่อเติมต่างๆ

คนที่ต่อเติมบ้าน เช่น ห้องครัวหลังบ้าน หรือห้องพักผ่อนบริเวณด้านข้างบ้าน มักพบปัญหาบ่อยๆ ในหน้าฝนว่าเกิดการรั่วซึมของน้ำฝนจากจุดเชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างหลังคาใหม่กับตัวบ้านเดิม บางครั้งอาจสังเกตได้จากคราบน้ำฝนที่ไหลลงมาตามผนังบ้านก็ได้

กรอบประตู/หน้าต่าง

น้ำรั่วซึม

เนื่องจากบ้านเราเป็นเมืองร้อนที่แดดจะแรงมากในช่วงกลางวัน และประตูหน้าต่างคือส่วนที่ต้องสัมผัสกับแสงแดดโดยตรงต่อเนื่องกันหลายชั่วโมง จึงเป็นไปได้ที่ซิลิโคนหรือยางที่ยึดกรอบหน้าต่างจะเกิดการหลุดร่อนหรือสึกหรอ พอฝนตกหนักๆ ก็จะมีน้ำรั่วซึมเข้าภายในบ้านได้

บวม/แตกร้าว

ฝนตกทุกวัน โอกาสที่ประตูบ้านอาจบวมก็มีได้บ้าง หากใช้วัสดุที่ไม่ค่อยมีคุณภาพเพียงพอ หรือกรอบประตูที่เคยโดนแดดแรงๆ ต่อเนื่องกันมาตลอดหน้าร้อน พอเจอฝนเย็นๆ ก็อาจเกิดการแตกร้าวได้เช่นกัน

รางน้ำฝน/ท่อระบายน้ำ

อุดตัน

เป็นไปได้ว่าท่อน้ำบริเวณรอบบ้านอาจมีขยะปลิวตกลงไปภายในท่อ หรือเศษใบไม้ที่ร่วงลงมาจากต้นไม้ที่ปลูกไว้ภายในบริเวณบ้านไปอุดตันท่อไม่ให้น้ำไหลผ่านได้สะดวก จนเกิดการเอ่อท่วมขึ้นมาได้

วิธีแก้ไข

ในบางจุดคุณสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง เช่น การยิงซิลิโคนบริเวณวงกบหรือกรอบประตู/หน้าต่างเพื่อช่วยอุดรอยรั่ว หรือ

การขุดลอกท่อระบายน้ำ หรือเก็บกวาดใบไม้ในรางน้ำฝนออกเสียบ้างก็จะช่วยให้น้ำไหลผ่านได้เร็วขึ้น

▪ สำหรับหลังคา/ฝ้าเพดาน หรือส่วนต่อเติมต่างๆ อาจจำเป็นต้องเรียกช่างมาดู หากเป็นประตูบ้านที่บวมหรือแตกร้าวก็คงต้อง

ซื้อมาให้ช่างทำการเปลี่ยนให้ใหม่

ฝนมาแล้วอย่านิ่งนอนใจกันนะคะ! เดี๋ยวจะเข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” กันไปเปล่าๆ โดยใช่เหตุค่ะ

โดย: ขายบ้านศรีราชา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *