News Property

ใครคือผู้รับผิดชอบสาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรร ตามกฎหมาย

ใครคือผู้รับผิดชอบสาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรร ตามกฎหมาย

หมู่บ้านจัดสรร  ถ้าจะพูดได้ถูกต้องตามกฎหมาย คือการจัดสรรที่ดิน  เป็นการจำหน่ายที่ดินซึ่งแบ่งเป็นแปลงย่อย เมื่อรวมกันแล้วต้องมีตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป  โดยทำเพื่อประโยชน์ในทำการค้า  มีพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543  กำกับและควบคุมอยู่

ในอดีตมีการใช้กฎหมายฉบับก่อน คือประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับ 286 นั้น  มีปัญหายุ่งยากที่เจ้าของโครงการไม่ดูแลหรือปล่อยทิ้งร้างสาธารณูปโภค   และทำให้มีความชำรุดทรุดโทรมของทรัพย์สินส่วนกลาง  จึงเป็นปัญหาที่ใครต้องรับผิดชอบดูแลให้คงสภาพดีใช้การได้อย่างเดิม  ทำให้ได้มีการออกพระราชบัญญัติจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ขึ้นมาแก้ปัญหาและใช้บังคับแทนปประกาศคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าว

การซื้อบ้านจัดสรร   บริเวณหมู่บ้านจัดสรรจะมีรั้วรอบขอบชิด  มีถนนตั้งแต่ทางเข้าหมู่บ้าน  มีป้อมยามไว้คอยอำนวยความสะดวกในการเข้าออกหมู่บ้าน  มีระบบไฟฟ้าน้ำประปาให้ใช้   มีสวนสาธารณะให้เดินเล่นยานเย็น  โดยพ่อแม่อาจจะพาลูก ๆ มาเล่นที่สนานเด็กเล่นได้  มีสโมสรพร้อมสระว่ายน้ำให้ลูกบ้านได้ผ่อนคลายในวันหยุด  ก็จะต้องมีผู้รับผิดชอบสาธารณูปโภคที่เป็นทรัพย์สินส่วนกลางของหมู่บ้านตามกฎหมายดังกล่าว   บทความนี้ขอไล่เลียงผู้รับผิดชอบว่ามีใครบ้าง

ผู้จัดสรรที่ดิน  คือผู้ประกอบการธุรกิจขายบ้านจัดสรร ส่วนใหญ่เป็นบรัษัทใหญ่ ๆ กันทั้งนั้น เป็นผู้ที่ขออนุญาตจัดสรรที่ดิน  เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว  พื้นที่บริเวณหมูบ้านจัดสรรทั้งหมดตามโครงการ  ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดสาธารณูปโภคตามแผนและโครงการที่ได้รับอนุญาต  และตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรนั้น โดยผู้จัดสรรมีเป็นผู้รับผิดชอบ  นั่นหมายความว่าการบำรุงรักษาสาธารณูปโภคตามโครงการที่กำหนดให้คงสภาพดังเช่นเดิม  และจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์ลดหรือเสื่อมความสะดวกมิได้  โดยผู้จัดสรรที่ดินสามารถพ้นจากหน้าที่ดังกล่าวได้ด้วยการยื่นความประสงค์ตามระเบียบคณะกรรมการจัดสรรที่ดินกลาง  ความรับผิดชอบมีไปจนกว่าจะมีการตั้งนิติบุคคลหมู้บ้านจัดสรร

นิติบุคคลหมู่บ้าน  เป็นผู้รับโอนสาธารณูปโภคจากผู้จัดสรร หรือผู้ประกอบการ  เพื่อจัดการดูแลสาธารณูปโภคต่อนั่นเอง  ซึ่งผู้ซื้อที่ดินจัดสรรต้องจัดตั้งนิติบุคคลและทำการรับโอนในระยะเวลาที่ผู้จัดสรรที่ดินกำหนด  ซึ่งไม่น้อยกว่า 180 วัน  โดยผู้ซื้อจัดการประชุมผู้ซื้อที่ดินทั้งหมด  เพื่อจะได้ขอมติการจัดตั้งนิติบุคคล  โดยมีการจัดทำข้อบังคับ  รวมไปถึงการตั้งตัวแทนเพื่อไปยื่นคำขอจดทะเบียนนิติบุคคลให้เรียบร้อย  แต่ถ้าผู้ซื้อไม่ดำเนินการจัดตั้งนิติบุคคลให้แล้วเสร็จ  ซึ่งหากผู้จัดสรรที่ดินยังประสงค์จะพ้นจากหน้าที่บำรุงรักษาสาธารณูปโภค  สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ

1.ยื่นคำขออนุมัติดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อบำรุงรักษาสาธารณูปโภค

2.ดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้เป็นสาธารณประโยชน์ต่อพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขา  แห่งท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่

หน่วยงานของรัฐ เทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  เป็นหน่วยสุดท้ายที่จะรับผิดชอบในกรณีที่มีการโอนให้เป็นสาธารณประโยชน์แล้ว  ผู้ซื้อก็ไม่สามารถที่จะจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมามีหน้าที่รับผิดชอบได้อีก   โดยเป็นไปตามกฎหมาย พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543

ท่านจะเห็นว่ากฎหมายฉบับนี้คุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้ออย่างมาก  ในอดีตเป็นประกาศของคณะปฏิวัติฉบันที่ 284 ซึ่งถือว่ายังมีปัญหาอยู่มาก รัฐบาลในสมัยนั้นเห็นว่าควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน  จึงได้ตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่นั้นมา  และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 เมื่อปี พ.ศ.2558

โดย บอย ขายบ้านศรีราชา

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *